วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

มาสนุกกับ String ในภาษา Ruby กันเถอะ


          สวัสดีจ้า มาพบกันอีกแล้วหลังจากห่างหายกันมาน๊านนนนน นาน วันนี้เรามีทริกเล็กๆ เกี่ยวกับ String มาฝากกัน มาดูกันเลยว่าจะน่ามหัศจรรย์ขนาดไหน


แอ๊ะแอ๋!! เปิดมาคงตกใจล่ะสิว่านี่มันอะไร เรามาค่อยๆ ดูกันไปทีละขั้นกันเลยดีกว่า



เริ่มแรกเลยเราประกาศชุดของ String ขึ้นมา 2 ชุดด้วยกันคือ _String01 และ _String02 เรามาดูกันว่า เราจะทำให้ _String01 ของเรากลายเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดได้ยังไง บรรทัดที่ 5 นั้นเอง


ถ้ามีทำตัวพิมพ์ใหญ่ก็ต้องมีการทำให้เป็นตัวพิมพ์เล็กก็คือบรรทัดที่ 7 


ส่วนบรรทัดที่ 9 นั้นเป็นการกลับหน้าไปหลังกลับหลังไปหน้า 


บรรทัดที่ 11 นี้ออกจะแปลกตาไปหน่อย มันมีไว้สำหรับการทำให้ตัวอักษรแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็ก


แต่เอะ? แล้วบรรทัดที่ 13 ถึงบรรทัดที่ 22 ล่ะทำไมเหมือนอาเรย์เลย? ใช่แล้วมันเหมือนอาเรย์เลยโดยตัวอักษรแต่ละตัวก็เหมือนกับ 1 ช่องของอาเรย์นั้นเอง


เอาล่ะเมื่อรู้หมดแล้วว่าแต่ละบรรทัดทำอะไรได้บ้างเรามาดูกันดีกว่าว่าพอรันออกมาแล้วจะเป็นยังไง


แต๊แดน!! เป็นไปตามที่คาดกันรึเปล่า 

สรุปนิดนึง 
- ถ้าเราต้องการให้ String ของเราเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดให้ใช้ .upcase
- ถ้าเราต้องการให้ String ของเราเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดให้ใช้ .downcase
- ถ้าเราต้องการให้ String ของเราพิมพ์จากหน้ามาหลังให้ใช้ .reverse
- ถ้าเราต้องการให้ String ของเรามีตัวพิมพ์ใหญ่เป็นตัวอักษรตัวแรกตัวเดียวให้ใช้ .capitalize
- ถ้าเราต้องการพิมพ์อักษรตำแหน่งต่างๆ ใน String ให้ใช้ ["ตัวเลข"]  ตามหลังชื่อตัวแปรของเรา

สำหรับวันนี้ก็ขอฝากไว้แค่นี้ก่อน หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้อะไรๆ ไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้สวัสดีครับ








วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

( Array )อาเรย์ น้าเรย์


สวัดดีนะคะเราก็มาเจอกันอีกเเล้ว; ~~

 สำหรับวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่อง Array คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีการใช้งานที่เเพร่หลายซึ่งมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก เเละมักจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณข้อมูลที่มีปริมาณมากๆเช่น การหาค่าเฉลี่ยของตัวเลย เป็นต้น ซึ่งถ้าเราเก็บข้อมูลของเเต่ละค่าไว้ในตัวเเปลเเต่ละตัวเราจะต้องใช้ตัวเเปรปริมาณมากๆ ดังนั้นจึงมีการนำ Array มาใช้ในการเก็บข้อมูลประเภทนี้

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับการสร้าง เเละใช้งานต่างๆกันนะคะ


Array คืออะไร?

Array คือ ตัวแปรที่เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล
Array คือ ตัวแปรพิเศษที่สามารถเก็บค่าได้หลายค่า ภายในตัวแปรตัวเดียว
Array สามารถเก็บค่าหลาย ๆ ค่า ไว้ภายในตัวแปรเดียว และเข้าถึงได้ ด้วยการอ้างถึงชื่อของ array


ในภาษารูบี้สามารถประกาศค่าตัวเเปรเเบบ Array ได้โดย





 หรือ






ซึ่งหากเราต้องการระบุข้อมูลไปใน Array พร้อมกับประกาศตัวเเปรเราสามารถทำได้ดังนี้

เมื่อเราอยากให้ข้อมูลใน Array เป็นดังนี้



ก็สามารถประกาศได้เป็น






หรือ







ซึ่งในส่วนของอ้างอิงค่าตำเเหน่ง(Index)ของข้อมูลใน Array นั้นจะเริ่มต้นที่ 0 เสมอ หมายความว่าค่าเเรกที่ใส่ไปใน Array จะเริ่มเป็นตำเเหน่งที่ 0 ค่าที่สองจะเป็น ตำเเหน่งที่ 1 ตามลำดับ



เเละหากเราต้องการทราบว่าค่าภายในArray ตำเเหน่งนั้นคืออะไร มีค่าอะไรอยู่เราสามารถเรียกดูได้ดังนี้






ค่าที่ออกมาคือ Bangkok เลข 0 คือหมายถึงตำเเหน่ง(Index) ที่เราต้องการทราบ



เเต่อย่างไรก็ตามในภาษา รู้บี้นั้นยังสามารถเรียกดูได้ง่ายโดยสามารถ ระบุ .first เพื่อเรียกดู ข้อมูลภายใน Array ตัวเเรกเเละเรียก.last ในข้อมูล Array ตัวสุดท้าย








ต่อมาการเพิ่มข้อมูล Array เพิ่มเติมจากที่กำหนดหรือประกาศไว้ในตอนเเรก
จะประกาศดังนี้






หรือกำหนดว่าให้เพิ่มที่ตัวถัดไปนะ






หรือหากเราต้องการลบข้อมูลทำดังนี้

province.delete(ตำเเหน่งที่เราต้องการลบ)


ตัวอย่างเช่น







นี้ก็จบพื้นฐานของการใช้งาน Array ในภาษา Ruby กันเเล้วหวังว่าจะได้นำไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะไว้เจอกันใหม่ในเรื่องหน้าา


สวัดดีค่าาาา~~~




วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

อยากจะวนลูป(Loop) ทำยังไงไปดูกัน! {ภาษา Ruby}

สวัดดีค่าวันนี้เราก็จะมาอธิบายเกี่ยวกับการวน loop  ในภาษา Ruby กัน 

ทำไมการวน loop ถึงสำคัญ? 
เพื่อนๆหลายคนอาจจะยังไม่เเนjใจว่าทำไม เเต่จริงๆเเล้วการวน loop เนี่ยเป็นสิ่งสำคัญเลยเพราะว่าเราสร้างคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทุ้นเเรงคนในงานที่มีการทำหลายๆครั้ง ดังนั้น การใช้ loop จะช่วยให้วนหาคำตอบได้เเม้จะมีจำนวนการทำหลายๆครั้ง

ซึ่งในลักษณะการเขียน Loop มีได้หลายเเบบมาก
วันนี้เราจะมาบอกกันคร่าวๆนะ 

ดังต่อไปนี้


1) While 





เราจะทำเมื่อเงื่อนไขถูกต้อง เมื่อเข้า condition ที่เรากำหนดก็จะทำ variable ที่เรากำหนดไว้ เเละยังทำต่อไปจนผิดเงื่อนไขถึงหลุด loop


2) do while




ซึ่งจะเห็นว่า loop เเบบ  do while จะเช็คเงื่อนไขทีหลัง ซึ่งหมายถึงต้องเข้า loop ที่สั่งเเล้วค่อยเข้ามาตรวจสอบเงื่อนไขทีหลัง ซึ่งถ้าหากทำเเล้วไม่เข้าเงื่อนไขก็จะหลุดเลย การใช้งาน loop เเบบ do while จึงขึ้นอยู่ตามเเต่ละสถานการณ์ที่เราจะเลือกใช้


3) until



การทำงานเหมือน loop เเบบ do while เเต่เเตกต่างกันตรงที่จะทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขไม่ถูกต้อง




4) do until



เหมือนการทำงาน loop เเบบ do while เปลี่ยนเป็นทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขไม่ถูกต้อง



5) for loop





 for loop จะถูกเลือกใช้เมื่อเรารู้เเน่ชัดเเล้วว่าเราจะวนลูปจนถึงค่าเท่าไหร่ เเละจำเป็นต้องกำหนดว่าเราต้องการให้ค่าเปลี่ยนเเปลงเท่าไหร่ โดยถ้าเราต้องการให้วนลูปตั้งเเต่ 0 ถึง 10 จะทำได้ดังนี้





ซึ่งภาษา Ruby มีความพิเศษสามารถเขียน ค่าที่เราต้องการเปลี่ยนได้หลายหลายรูปเเบบมากกว่า for loop ในภาษาอื่นๆ
ดังตัวอย่างเช่น


เขียนจาก น้อยไปมาก



เขียนจาก มากไปน้อย






ตัวอย่างที่เราลองนำมาใช้




จบเเล้วนะค่าสำหรับการอธิบายเรื่อง loop ถ้าใครสนใจเรื่องต่อไปกดดูเรื่องต่อไปได้เล้ยยยยยย